ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน
คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่
ว่านหางจระเข้เป็นพืชอวบน้ำลำต้นสั้นหรือไม่มีลำต้นสูง 60–100 ซม. (24–39 นิ้ว) กระจายพันธุ์โดยตะเกียง ใบหนาอ้วนมีสีเขียวถึงเทา-เขียว บางสายพันธุ์มีจุดสีขาวบนและล่างของโคนใบ ขอบใบเป็นหยักและมีฟันเล็กๆสีขาว ออกดอกในฤดูร้อนบนช่อเชิงลด สูงได้ถึง 90 ซม (35 นิ้ว) ดอกเป็นดอกห้อย วงกลีบดอกสีเหลืองรูปหลอด ยาว 2–3 ซม. (0.8–1.2 นิ้ว) ว่านหางจระเข้ก็เหมือนพืชชนิดอื่นในสกุลที่สร้างอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา (arbuscular mycorrhiza) ขึ้น ซึ่งเป็นสมชีพที่ทำให้พืชดูดซึมสารอาหารและแร่ธาตุในดินได้ดีขึ้น
ว่านหางจระเข้ได้รับการจำแนกครั้งแรกโดยคาโรลัส ลินเนียสในปี ค.ศ. 1753 เป็น Aloe perfoliata var. vera และจำแนกอีกครั้งในปี ค.ศ. 1768 โดย นิโคลาส เลาเรนส์ บูร์มัน (Nicolaas Laurens Burman) เป็น Aloe vera ใน Flora Indica ในวันที่ 6 เมษายน และโดย ฟิลิป มิลเลอร์ (Philip Miller) เป็น Aloe barbadensis 10 วันหลังบูร์มันใน Gardener's Dictionary
ด้วยวิธีการเปรียบเทียบ DNA แสดงว่าว่านหางจระเข้เป็นญาติใกล้ชิดกับ Aloe perryi พืชถิ่นเดียวของประเทศเยเมน และด้วยวิธีที่คล้ายกัน ด้วยการเปรียบเทียบการจัดลำดับ DNA ของคลอโรพลาสต์และ ISSR แสดงว่าว่านหางจระเข้ยังเป็นญาติใกล้ชิดกับ Aloe forbesii, Aloe inermis, Aloe scobinifolia, Aloe sinkatana และ Aloe striata ด้วยเช่นกัน ถ้าไม่นับชนิดในแอฟริกาใต้คือ A. striata พืชในสกุล Aloe จะมีถิ่นกำเนิดในเกาะโซโคตร้า (Socotra) ในประเทศเยเมน, ประเทศโซมาเลีย และ ประเทศซูดาน. และเนื่องจากไม่มีการสังเกตถึงประชากรในธรรมชาติทำให้ผู้แต่งบางคนเสนอว่าว่านหางจระเข้อาจมีกำเนิดมาจากลูกผสม
ชื่อพ้องของว่านหางจระเข้ก็มี: A. barbadensis Mill., Aloe indica Royle, Aloe perfoliata L. var. vera และ A. vulgaris Lam., และชื่อสามัญอื่นก็มี Chinese Aloe, Indian Aloe, true Aloe, Barbados Aloe, burn Aloe และ first aid plant ส่วนอื่นสามัญอื่นในประเทศไทยก็มี ว่านไฟไหม้ (เหนือ) และ หางตะเข้ (กลาง,ตราด) ชื่อสปีชีส์ vera หมายความว่า "ถูกต้อง" หรือ "แท้จริง" ในหนังสือบางเล่มจะระบุบรูปแบบที่เป็นจุดสีขาวของว่านหางจระเข้เป็น Aloe vera var. chinensis อย่างไรก็ตาม ว่านหางจระเข้มีลักษณะของจุดที่ใบหลากหลาย และมีการเสนอว่ารูปแบบจุดของว่านหางจระเข้อาจทำให้มันเป็นชนิดเดียวกันกับ A. massawana.
วุ้นในใบว่านหางจระเข้มีสารเคมีอยู่หลายชนิด เช่น Aloe-cmidin, Aloesin, Aloin, สารประเภท glycoprotein และอื่นๆ ยางที่อยู่ในว่านหางจระเข้มีสาร anthraquinone ทีมีฤทธิ์ขับถ่ายด้วย ใช้ทำเป็นยาดำ มีการศึกษาวิจัยรายงานว่า วุ้นหรือน้ำเมือกของว่านหางจระเข้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้ดี เพราะวุ้นใบมีสรรพคุณรักษาแผลต่อต้านเชื้อแบคทีเรียช่วยสมานแผลได้ด้วย
ว่านหางจระเข้ จัดว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์มาก อยู่ในกลุ่มตะบองเพชรเขตร้อน
- แก้ปวดศีรษะ นำว่านหางจระเข้ตัดให้เป็นแว่นบางๆ เอาปูนแดงทาที่วุ้น แล้วปิดที่ขมับ จะทำให้เย็นหายปวด
- แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ใช้ น้ำเมือกจากว่านหางจระเข้รักษา แผลไฟลวก ขนาดรุนแรงที่สุด โดยทาน้ำเมือกที่แผลให้เปียกอยู่เสมอ แผลจะหายรวดเร็วมาก อาการปวดแผลหรือการเกิดแผลเป็นจะมีน้อยมากหรือไม่มีเลย ผิวไหม้เพราะถูกแดดเผา ใช้วุ้นหางจระข้ทาบ่อยๆ ช่วยลด อาการปวดแสบปวดร้อน ผิวตึง และลดจำนวนผิวที่ลอก
แผลจากของมีคมและแผลอื่นๆ ทำความสะอาดแผลเสียก่อน แล้วเอาวุ้นปิดลงที่แผลให้สนิท เอาผ้าปิดไว้ แล้วหยอดน้ำเมือกลงไปให้ผ้าตรงบริเวณที่แผลเปียกอยู่เสมอ ช่วยให้แผลหายเร็ว และลดรอยแผลเป็น
- กระเพาะลำไส้อักเสบ รับประทานวุ้นหางจระเข้ 1-2 ช้อนโต๊ะ วันละหลายๆ ครั้ง ใช้ได้ผลในรายที่ลำไส้ใหญ่อักเสบ หรืออวัยวะอื่น ในทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ
- บำรุงผมและหนังศีรษะ ใช้ วุ้นว่านหางจระเข้ ชโลมผมให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้ง รุ่งเช้าจึงใช้น้ำล้างออก ทำให้ผมดกดำเป็นเงางาม หวีง่ายขึ้น และรักษาแผลบนหนังศีรษะ ( ก่อนใช้ควรทดลองก่อนว่า แพ้ว่าน หรือไม่ และควรใช้แต่น้อยดูก่อน ที่สำคัญอย่าให้ยางถูกผมเพระายางจะ กัดหนังหัว)
- ป้องกันการติดเชื้อ ใช้วุ้นหางจระเข้ ทาแผลรักษาแผลติดเชื้อได้ ทำให้แผลดีขึ้น ภายใน 12 ชั่วโมง
- ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้สารต่างๆ เนื่องจากวุ้นหางจระข้จะมีฤทธิ์ระงับปวด จึงช่วยลดอาการคันด้วย และยังช่วยให้ผื่นคันหายเร็ว ขี้เรือนกวาง และ ผื่นปวดแสบปวดร้อน ใช้วุ้นหางจระเข้ กินวันละ 1-2 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนโต๊ะ และทาควบคู่กันไป ว่านหางจระเข้ เป็นยาฝาดสมาน อาจทำให้ผิวแห้งได้ จึงควรผสมน้ำมันทาผิว หรือ น้ำมันอย่างอื่นควบคู่ไปด้วย
- ลบรอยแผลเป็น ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทา เช้า-เย็น จะลดรอย แผลเป็น ลบท้องลายหลังคลอด ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาผิวท้อง ขณะตั้ง ครรภ์ แม้หลังคลอดแล้วก็ควรใช้ทาต่อเพื่อช่วยให้ผิวหน้าท้องกลับคืนสู่ สภาพปกติ คนที่เคยใช้ยืนยันว่าได้ผลดี
- เส้นเลือดดำขอดที่ขา ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาที่บริเวณเส้นเลือด ดำขอด และมีบางคนใช้ได้ผลดีมาก
- มะเร็งที่ผิวหนัง ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ ทาวันละ 2-4 ครั้ง เป็นเวลาหลายเดือน
- แผลครูดและแผลถลอก ใช้วุ้นว่านหางจระเข้ทาเบาๆ ให้ทั่วใน 24 ชั่วโมงแรก ทาบ่อยๆ แผลจะไม่ค่อยเจ็บและหายเร็วมาก
- โรคปวดตามข้อ รับประทานวุ้นว่านหางจระเข้ เป็นประจำจะหาย ปวดได้ (จากวิกิพีเดีย)
น้ําผลไม้ที่แนะนำ
น้ําผักที่แนะนำ
- น้ำว่านหางจระเข้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น