
บัวเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ จัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี
บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทย มาจาก 3 สกุล คือ
- บัวหลวง (lotus) เป็นบัวในสกุล Nelumbo มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า ปทุมชาติ หรือบัวหลวง
- บัวผัน, บัวสาย (waterlily) เป็นบัวในสกุล Nymphaea มีลำต้นใต้ดินเป็นหัว หรือเหง้า ใบและดอกเกิดจากตาหรือหน่อที่เจริญขึ้นมาที่ผิวน้ำด้วยก้านส่งใบและยอด
- บัววิกตอเรีย (Victoria) เป็นบัวในสกุล Victoria มีชื่อเรียกกันทั่วไปว่า บัวกระด้ง จัดเป็นบัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
พ.ศ. 2551 ค้นพบสายพันธุ์บัวสายพันธุ์ใหม่ของโลกที่พิพิธภัณฑ์บัว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี ได้ตั้งชื่อว่า "ธัญกาฬ" และ "รินลอุบล"

คนไทยส่วนใหญ่มักจะใช้ดอกบัว ในการบูชาพระอยู่เสมอ แต่บัวที่เรานิยมปลูกไว้ภายในบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล คือ บัวหลวง บัวผัน บัวฝรั่ง บัวสาย และบัวกระด้ง
ความเชื่อในทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยโบราณว่า ดอกบัวก็เหมือนกับคนเรานี้เอง ดอกบัวที่ชูดอกพ้นจากผิวน้ำขึ้นมารับแสงสว่างได้นั้น ก็เหมือนกับ ผู้ที่หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง กลายเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม ซึ่งถือเป็นความหมายอันลึกซึ้ง และเป็นมงคลยิ่งนัก
คนโบราณจึงมึความเชื่อว่า ครอบครัวใดที่ปลูกบัวเอาไว้ประจำบ้าน ก็จะช่วยให้คนครอบครัวนั้น มีจิตใจที่บริสุทธิ์ สะอาด และเบิกบานแจ่มใส เช่นเดียวกับดอกบัว และยังเชื่ออีกว่า สายใยของบัวที่ยืดยาวนั้น คือสายสัมพันธ์ของครอบครัว จะทำให้ทุกคนมีความห่วงใยรักใคร่ และผูกพันต่อกันอย่างแนบแน่น ครอบครัวนั้น ก็จะมีแต่ความสุข เพราะความรักใคร่ปรองดองของคนในครอบครัวทุกคน

ผู้ที่เหมาะที่จะปลูกบัวมากที่สุด คือ ผู้ที่เกิดปีจอ เพราะดอกบัวนั้น เป็นต้นไม้ประจำปีของคนเกิดปีจอ หากผู้ที่เกิดปีจอเป็นผู้ปลูก และมีผู้ที่เกิดปีเดียวกันอาศัยอยู่ภายในบ้าน ก็จะช่วยเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้มากยิ่งขึ้นไปอีก (ถ้าไม่มีผู้ที่เกิดปีจอ ก็ควรให้หัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ปลูกก็ได้) (จากวิกิพีเดีย)
รากบัว คนเอเซียยกให้ดอกบัว เป็นดอกไม้แห่งความบริสุทธุ์และปัญญา ตำนานการกินบัว โดยเฉพาะรากบัว ในหลายประเทศทั่วเอเซียมี มายาวนานนับพันปี คนจีนดูจะเป็นชาติที่กินบัวกันมาช้านานกว่าชาติใด เนื่องจากเชื่อว่าการการกินบัวนั้นเป็นมงคลอย่างหนึ่ง เพราะนอกจากบัวจะป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธุ์แล้วยังถือว่า บัวเป็นสัญลักษณ์ของการเจริญพันธุ์ มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง ทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ความงามของเจ้าสาวในพิธีวิวาห์ และความรัก ของบ่าวสาวดังที่ผูกพันแน่นแฟ้น ดังสำนวนไทยที่ว่า
" ตัดบัวยังเหลือใย "
เมืองไทยอย่างบ้านเรามีวิถีชีวิตผูกพันกับสายน้ำ ประวัติการกินรากบัวเป็นทั้งอาหารและยาจึงสืบทอดกันมาช้านาน เช่นกัน คนสมัยก่อนใช้รากบัวเป็นส่วนประกอบของยาหม้อโบราณ เพราะมีสรรพคุณเป็นยาเย็น ช่วยลดอาการร้อนใน คนไข้ที่มีไข้สูง หมอแผนโบราณมักให้ดื่มน้ำต้มรากบัวที่ค่อนข้างเย็น ส่วนคนปกติให้ดื่มน้ำต้มรากบัวแบบอุ่น ๆ
การกินรากบัวดีต่ออวัยวะภายใน คนโบราณบอกไว้ว่า ดื่มน้ำต้ม รากบัววันละ 2 - 3 แก้วจะช่วยแก้อาการผิดปกติในระบบย่อยอาหาร ได้ดีเยี่ยม ตั้งแต่อาการท้องเดินไปจนถึงอาการเลือดออกในกระเพาะอาหาร ลำไส้เล้ก และช่องทวารหนัก ( ซึ่งสังเกตได้จากมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ) ตลอดจนช่วยเจริญอาหาร
นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน ตลอดจนช่วยลดอาการอาเจียนเป็นเลือด ทั้งยังกินแก้พิษอักเสบ แก้ปอดบวม และเป็นยาชูกำลัง
สำหรับคุณค่าทางอาหาร รากบัวอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงโลหิต มีวิตามินบี วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง และมีใยอาหารปริมาณมาก ช่วยแก้อาการท้องผูกได้ชะงัด (จาก opium-howtodeleteabrowsercookie)

น้ําผักที่แนะนำ
- น้ำรากบัวต้ม
- น้ำลูกบัวต้ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น