
ดอกเบญจมาศมีอยู่หลายสายพันธุ์ ชนิดเลื่องชื่อคือ เบญจมาศสวน (Chrysanthemum indicum Linn. ในวงศ์ Compositae) กับเบญจมาศหนู (Chrysanthemum morifolium Ramat. ในวงศ์เดียวกัน) ซึ่งเรียกรวมกันว่า "ดอกเก๊กฮวย" (菊花 júhuā ?) นิยมนำมาตากแห้ง ใช้ชงกับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลทำน้ำเก๊กฮวย
เบญจมาศที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก มี 3 ประเภท คือ
1. Exhibition Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดใหญ่มาก ดอกมีรูปทรงกลม ลำต้นสูงใหญ่ แต่ละต้นเลี้ยงให้มีเพียง 1 ดอก ปกติจะปลูกสำหรับการโชว์
2. Standard Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดเล็กกว่า Exhibition Type แต่ละต้นเลี้ยงให้มี 3-4 กิ่ง และแต่ละกิ่งให้มีเพียง 1 ดอก
3. Spray Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดเล็กกว่า Standard Type แต่ละกิ่งมีหลายดอก และมี 3-4 กิ่งต่อต้น หรืออาจมีมากกว่านี้ ตัดดอกขายในลักษณะเป็นกิ่งหรือต้องขายทั้งต้น
พันธุ์เบญจมาศอยู่กว่า 1,000 พันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นประเภท Standard Type สีเหลืองและสีขาว พันธุ์ที่นิยมปลูกในขณะนี้คือ พันธุ์ขาวการะเกด พันธุ์ขาวเมืองตาก และพันธุ์ TW12 (Pui Tsin-Shin) ซึ่งให้ดอกสีขาว พันธุ์เหลืองตาก พันธุ์เหลืองทอง พันธุ์เหลืองอินทนนท์ พันธุ์เหลืองเกษตร และพันธุ์ TW17 (Shin-Fan-Tsu-Ri) ซึ่งมีดอกสีเหลือง (จากวิกิพีเดีย)

วิธีทำคือ นำดอกเก๊กฮวยอบแห้ง 5-10 ดอก ลงไปในหม้อกับน้ำประมาณ 2 ลิตร ต้มนาน 5 นาที แล้วกรองออก จะเติมน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลกรวดลงไปเพื่อเพิ่มความหวาน หรือไม่ตามแต่ชอบ หรือจะเพิ่มความหอมโดยการใช้ใบชาหรือเตยลงไปด้วยก็ได้ รับประทานได้ทั้งร้อนและเย็น
ประโยชน์ของน้ำเก๊กฮวยมีอยู่ด้วยกันหลายประการ นอกจากความหอมสดชื่นแก้ประหายแล้วแล้ว ยังเป็นยาเย็น ดับพิษร้อน แก้ร้อนใน ในตำราการแพทย์แผนจีน ช่วยในระบายและย่อยอาหาร ช่วยขยายหลอดเลือดแดงใหญ่ที่เลี้ยงหัวใจ ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดต่าง ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง, โรคเส้นเลือดตีบ และโรคหัวใจได้ ช่วยจัดสารพิษให้ออกจากร่างกาย ช่วยดูดซับสารก่อมะเร็งและจุลินทรีย์ต่าง ๆ (จากวิกิพีเดีย)

น้ําผลไม้ที่แนะนำ
- น้ำเก๊กฮวย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น