วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ใบเตย

          เตยหอม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pandanus amaryllifolius เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ใบเป็นทางยาว สีเข้ม ค่อนข้างแข็ง เป็นมัน ขอบใบเรียบ ในใบมีกลิ่นหอม จากน้ำมันหอมระเหย ที่เรียกว่า Fragrant Screw Pine สีเขียวของใบเป็นสีจากคลอโรฟิลล์ ใช้ในการแต่งสีขนม
          ในบังกลาเทศเรียกว่า ketaki ใช้เพิ่มกลิ่นหอมของ ข้าวพิลาฟ หรือข้าวปุเลา บิรยานี และพุดดิ้งมะพร้าว payesh ในอินโดนีเซียเรียก pandan wangi พม่าเรียก soon-mhway ในศรีลังกาเรียก rampe ในเวียดนามเรียก lá dứa ใบใช้ได้ทั้งใบสดและใบแห้ง และมีขายในรูปใบแช่แข็งในประเทศที่ปลูกไม่ได้ ใช้ปรุงกลิ่นในอาหารของหลายประเทศเช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ไทย บังกลาเทศ เวียดนาม จีน ศรีลังกา และพม่า โดยเฉพาะข้าวและขนม
          การใช้ เช่น นำไปขยำกับกะทิ ใส่ในภาชนะหุงต้ม ไก่ใบเตยเป็นการนำใบเตยมาห่อไก่แล้วนำไปทอด ใช้แต่งกลิ่นเค้กใบเตย และของหวานอื่นๆ ในฟิลิปปินส์ใช้เตยหอมแต่งกลิ่นในสลัดที่เรียก buko pandan
          กลิ่นหอมของใบเตยเกิดสารเคมีที่เรียก 2-acetyl-1-pyrroline ซึ่งเป็นกลิ่นแบบเดียวกับที่พบในขนมปังขาว ข้าวหอมมะลิและดอกชมนาด มีสารสกัดจากใบเตยขาย ซึ่งมักจะแต่งสีเขียว ใบใช้ไล่แมลงสาบได้

น้ําผักที่แนะนำ
- น้ำใบเตย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น