วันอาทิตย์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พันช์น้ำขิง

          สวัสดีครับท่านผู้สนใจการทำน้ำผลไม้ทุกท่าน หลังจากที่ผมห่างหายไปค่อนข้างนานเนื่องจากว่าผมมีภารกิจในการทำงานค่อนข้างมาก  จนไม่สามารถปลีกตัวมาเขียนบทความให้ทุกท่านได้อ่านกัน  แต่ตอนนี้ผมว่างแล้ว...???  (เจ้าของงานเขามาเอางานคืนไปทั้งที่ข้อมูลที่ผมกำลังแก้ไขยังไม่เรียบร้อยเลย  ไม่รู้ว่าจะทำต่อได้หรือเปล่า...555  ผมก็เลยต้อง "โครงการชั่งหัวมัน")
          เอาล่ะครับ  มาเข้าเรื่องกันดีกว่า  วันนี้เราจะมาทำน้ำผักกันในรูปแบบของน้ำพันช์นะครับ  ส่วนผักที่ใช้ในวันนี้ก็คือ ขิง  ครับ
           ขิง  หรือ Ginger เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เปลือกนอกมีสีน้ำตาลออกเหลือง เนื้อในมีสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว แทงหน่อ(ลำต้นเทียม)ขึ้นเป็นกอ ซึ่งจะประกอบไปด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปหอกเกลี้ยงๆ กว้างโดยประมาณ 1.5 - 2 ซม. ยาวโดยประมาณ 12 - 20 ซม. หลังใบห่อจีบเป็นรูปรางน้ำ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

น้ำแตงโมต้ม

          สวัสดีครับท่านผู้สนใจการทำน้ำผลไม้ทุกท่าน  ในวันนี้ผมก็ขอเสนอการทำน้ำผลไม้จากผลไม้ที่ผมได้เคยเสนอไปแล้ว นะครับ  นั่นก็คือ แตงโม  ครับ แต่ในวันนี้ผมจะนำแตงโมมาทำ น้ำแตงโมต้ม กันนะครับ
            แตงโม เป็นพืชในวงศ์เดียวกับแคนตาลูปและฟัก เป็นพืชล้มลุกเป็นเถา อายุสั้น เถาจะเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนอ่อนปกคลุม ผลมีทั้งทรงกลมและทรงกระบอก เปลือกแข็ง มีทั้งสีเขียวและสีเหลือง บางพันธุ์มีลวดลายบนเปลือก ในเนื้อมีเล็ดสีดำแทรกอยู่
           แตงโม มีประโยชน์หลายอย่างนะครับ อาธิเช่น บำรุงสายตา ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งก็ดูเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ คุณค่าทางโภชนาการ ในบทความนี้ได้เลยนะครับ
           ส่วนในวันนี้ผมขอเสนอวิธีการทำ น้ำแตงโมต้ม นะครับ ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูส่วนผสม และรองทำ น้ำแตงโมต้ม กันเลย

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

น้ำดอกอัญชัน

          สวัสดีครับท่านผู้สนใจการทำน้ำผลไม้ทุกท่าน หลังจากผมได้นำเสนอข้อมูลของ อัญชัน ไปเมื่องไม่นานมานี้ ในครั้งนี้ผมจึงขอนำเอา อัญชัน มาทำเป็นน้ำผลไม้ในวันนี้กันนะครับ
          อัญชัน เป็นไม้เถาล้มลุกเลื้อยพัน อายุสั้น มีความยาวประมาณ 1-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน ใบรูปรีคล้ายรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
          อัญชัน มีทั้งดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ ออกเป็นคู่ตามซอกใบ มี 5 กลีบ ออกดอกเกือบตลอดปี ผลเป็นฝักรูปดาบ โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย มีเมล็ดรูปไตสีดำ
          อัญชั ดอกสีน้ำเงิน ใช้กลีบดอกสด เป็นสีแต่งอาหาร ขนม ถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย จะกลายเป็นสีม่วง

วันอาทิตย์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2556

น้ำปานะ

ข้อควรรู้สำหรับผู้ถืออุโบสถศีล และผู้ต้องการถวายน้ำปานะแด่พระสงฆ์สามเณร ให้ถูกต้องตามหลักศาสนาพุทธ

          อุโบสถศีลประกอบด้วย 8  องค์  หมายถึงศีล 8 หรือศีลอุโบสถนั่นเอง  อุโบสถศีล เป็นศีลของคฤหัสถ์ (อุบาสกอุบาสิกา หรือผู้ปวรณาตนเป็นผู้นับถือพระพุทธสาศนา) มิใช่สงฆ์ ซึ่งมีศีลเฉพาะตนอยู่แล้ว โดยชาวพุทธมักจะรับศีลแปดในวันพระ นิยมรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน หรือ 3 วัน จัดเป็นศีลขั้นต่ำของพระอนาคามี โดยปกติแล้วผู้รักษาศีลจะเปล่งวาจาอธิษฐาน ที่จะขอสมาทานศีลในตอนเช้าของวันนั้น หากรักษาศีลแปดเป็นเวลา 1 วัน เรียกว่า "ปกติอุโบสถ" และหากรักษา 3 วัน เรียกว่า "ปฏิชาครอุโบสถ"

วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อัญชัน

          อัญชัน มีชื่อในอังกฤษว่า Asian pigeonwings มีทางชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Clitoria ternatea L. มีชื่อสามัญว่า:    Blue Pea, Butterfly Pea จัดอยู่ในวงศ์ :   LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE ชื่ออื่นๆ ตามภูมิภาค เช่น แดงชัน (เชียงใหม่), อัญชัน (ภาคกลาง) และ เอื้องชัน (ภาคเหนือ) เป็นต้น มีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน
          อัญชัน เป็นไม้เถาล้มลุกเลื้อยพัน อายุสั้น มีความยาวประมาณ 1-5 เมตร ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-9 ใบ เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร ใบรูปรีคล้ายรูปไข่ แกมขอบขนานหรือรูปรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-5 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
          ดอกมีทั้ง ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร กลีบคลุมรูปกลม
ปลายเว้าเป็นแอ่ง

วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

น้ำเชื่อม

          สวัสดีครับผู้สนใจการทำน้ำผลไม้ทุกท่านในครั้งนี้ผมจะขอแนะนำวิธีการทำ น้ำเชื่อม กันนะครับ ถึงแม้ว่า น้ำเชื่อม จะเป็นอะไรที่ทำกันได้ง่าย ๆ ไม่มีขั้นตอนที่ซับซ้อนมากมายจนยากเกินไป และในปัจจุบันนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ น้ำเชื่อม ออกมาวางขายกันหลากหลายยี่ห่อ ซึ่งนั่นก็ทำให้สะดวกสบายมากในการทำอาหาร ขนม รวมทั้งน้ำผลไม้ด้วย แต่ตรงนี้ผมจะขอไม่พูดถึงผลิตภัณฑ์ น้ำเชื่อม ที่ผลิตออกมาวางขายกันหลากหลายแบบกันนะครับ แต่จะขอเสอนแนะวิธีการทำ น้ำเชื่อม ซึ่สำหรับบางคนที่ไม่มีเวลาจะออกไปซื้อผลิตภัณฑ์ น้ำเชื่อม สำเร็จรูป หรืออาจจะต้องการทำด้วยตนเอง เพื่อนำมาใช้ประกอบอาหาร ทำขนม และน้ำผลไม้นั่นเอง พร้อมแล้วเรามาดูวิธีทำกันเลย

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

น้ำเปลือกแตงโมต้ม

          สวัสดีครับผู้สนใจการทำน้ำผลไม้ทุกท่าน หลังจากที่ผมห่างหายไปนานไม่ได้เขียนบทความมาหลายวัน วันนี้จึงขอหยิบเอาเรื่องที่เคยเขียนจากใน บล็อก นี้มาเขียนใหม่ในวันนี้นะครับ ซึ่งมันก็คือเรื่องของ แตงโม แต่แทนที่วันนี้จะทำน้ำผลไม้จากเนื้อแตงโมซึ่งได้เคยเสนอไปแล้วนั้นก็คือ น้ำแตงโมปั่น, สมูทตี้ผักชี กับแตงโม วันนี้ผมจึงขอเสนอการทำน้ำผลไม้จากเปลือกแตงโมแทน ซึ่งผมขอเรียกมันว่า น้ำเปลือกแตงโมต้ม ก็แล้วกันนะครับ  ซึ่งเปลือกแตงโมนี้มันก็มีสรรพคุณ ช่วยลดอาการเจ็บคอนะครับ ลองทำกันดูนะครับ เมื่อพร้อมกันแล้วเรามาลงมือทำกันเลย

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556

โกโก้ปั่น

ส่วนผสม
   โกโก้ผง 2 ช้อนชา
   ครีมเทียม 2 ช้อนชา
   นมข้นหวาน 4 ช้อนโต๊ะ
   น้ำเชื่อม  4 ช้อนโต๊ะ
   นมข้นจืด 4 ช้อนโต๊ะ
   น้ำแข็งป่น 2 ถ้วย

วิธีทำ
               ชงโกโก้ด้วยน้ำร้อน เติมครีมเทียม และนมข้นหวาน ผสมให้เข้ากัน เทโกโก้ร้อน เติมน้ำเชื่อม  นมข้นจืด ปั่นให้เข้ากัน แล้วเติมน้ำแข็งป่นลงไป ปั่นให้เข้ากันอีกครั้ง

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มาตราชั่งตวง

วันนี้ขอเสนอเรื่องของการชั่งตวง ในการทำขนม และอาหาร

มาตราชั่งตวง

 
ช้อนชา                        =          1 ช้อนโต๊ะ
2 ช้อนโต๊ะ                      =          1/8 ถ้วยตวง

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

น้ำลูกเดือย

ส่วนผสม
   ลูกเดือย 50 กรัม
   น้ำตาล 10 กรัม
   น้ำ 250 กรัม
   เกลือป่น 1 กรัม

วิธีทำ
               นำลูกเดือยมาล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำจนลูกเดือยสุก เติมน้ำตาล และเกลือป่น ชิมรสตามชอบ

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

น้ำลูกเดือยปั่น

ส่วนผสม
   ลูกเดือย 50 กรัม
   น้ำตาล 10 กรัม
   น้ำ 250 กรัม
   เกลือป่น 1 กรัม

วิธีทำ
               นำลูกเดือยมาล้างให้สะอาด ต้มกับน้ำเคี่ยวลูกเดือยจนเปื่อย เติมน้ำตาล และเกลือป่น  ใส่ในเครื่องปั่น ปั่นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สมูทตี้ลูกเดือยกับแคนตาลูป

 ส่วนผสม
   แคนตาลูป 100 กรัม
   ลูกเดือยต้มสุก 50 กรัม
   นมถั่วเหลืองแช่เย็น 250 มิลลิลิตร
   ผงโกโก้

วิธีทำ
               หั่นแคนตาลูปเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปแช่ให้เย็นจัด ปั่นแคนตาลูปพร้อมลูกเดือยต้มสุก และนมถั่วเหลือง จนส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เทใส่แก้ว โรยหน้าด้วยผงโกโก้เล็กน้อย

วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556

น้ำมะม่วงสุกปั่น

 ส่วนผสม
   เนื้อมะม่วงสุก 100 กรัม 
   น้ำต้มสุก 200 กรัม
   น้ำเชื่อม 30 กรัม
   เกลือ 1 กรัม


วิธีทำ
               ล้างมะม่วงให้สะอาด ปอกเปลือกมะม่วง ฝานมะม่วงเอาแต่เนื้อ เติมน้ำต้มสุก และเกลือ ปั่นให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ (ต้องการหวานให้เติมน้ำเชื่อมลงไป) (ควรดื่มให้หมดใน 1 วัน)

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โกโก้

          โกโก้ (cocoa,Chocolate Tree, Cacao ) เป็นพืชขนาดเล็ก สูง 3-10 ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Theobroma cocoa L.อยู่ในวงศ์ Sterculiaceae ผลโกโก้เป็น รูปไข่ ขนาดใหญ่ ยาว 20-25 ซม. กว้าง 10 ซม. ผลฉ่ำน้ำ แห้งแล้วไม่แตก ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการแปรรูป คือ เมล็ดในผล (cocoa bean) ซึ่งนำมาผ่านกระบวนการแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์เช่น โกโก้ผง (cocoa powder) เนยโกโก้ (cocoa butter) เนื้อโกโก้ (cocoa mass) ช๊อกโกแลต (chocolate) เป็นต้น โกโก้ เป็นแหล่งสำคัญของพอลิฟีนอล (polyphenol) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
          เมล็ดโกโก้ เป็นส่วนของผลโกโก้ซึ่งแก่จัด ที่นำมาใช้ประโยชน์ เม็กโกโก้จะเรียงเป็นแถว 5 แถว รอบแกนกลางผล มีเนื้อนุ่มสีขาวออกเหลือง ภายในมีเมล็ดสีน้ำตาล จำนวนหลายเมล็ด รูปรี ยาว 2-2.5 ซม. กว้าง 1.2-1.5 ซม.เมล็ดโกโก้ เมื่อแยกออกจากผล จะทำการแปรรูปเบื้องต้น ดังนี้
          การหมัก (fermentation หรืออาจเรียกว่า curing) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้แยกส่วนที่เป็นเนื้อออกและช่วยให้การทำแห้งเร็วขึ้น นอกจากนี้การหมักโกโก้ ยังมีผลสำคัญมากต่อ สี กลิ่นรสของโกโก้ และช๊อกโกแลตโดยทั่วไปจะใช้เวลาการหมักประมาณ 5-8 วัน การหมักจะทำแบบง่ายๆ ในลังไม้ ในตะกร้า การหมักโกโก้จะใช้จุลินทรีย์จากธรรมชาติ เช่น แบคทีเรีย ในกลุ่ม lactic acid bacteria , acetic acid bacteria และ

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำมะม่วงปั่น

 ส่วนผสม
   เนื้อมะม่วงดิบ 100 กรัม (ควรมีรสเปรี้ยวไม่มาก)
   น้ำต้มสุก 200 กรัม
   น้ำเชื่อม 30 กรัม
   เกลือ 1 กรัม

 วิธีทำ
               นำมะม่วงดิบมาปอกเปลือก (ควรมีรสเปรี้ยวไม่มาก) ล้างน้ำให้สะอาด สับมะม่วงเป็นเส้นเล็กๆ ปั่นให้ละเอียด เติมน้ำต้มสุก น้ำเชื่อม และเกลือ ชิมรสตามชอบ

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำมะม่วงคั้น

ส่วนผสม
   เนื้อมะม่วงดิบ 100 กรัม (ควรมีรสเปรี้ยวไม่มาก)
   น้ำต้มสุก 200 กรัม
   น้ำเชื่อม 30 กรัม
   เกลือ 1 กรัม

วิธีทำ

               นำมะม่วงดิบมาปอกเปลือก (ควรมีรสเปรี้ยวไม่มาก) ล้างน้ำให้สะอาด สับมะม่วงเป็นเส้นเล็กๆ คั้นกับน้ำต้มสุก กรองเอากากออก เติมน้ำเชื่อม และเกลือ ชิมรสตามชอบ (เติมน้ำแข็งเมื่อดื่ม)

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

มะม่วง

          มะม่วง เป็นไม้ยืนต้นในตระกูล Mangifera ซึ่งเป็นไม้ผลเมืองร้อนในวงศ์ Anacardiaceae ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mangifera indicaเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เพราะการที่ภูมิภาคนั้นมีความหลากหลายทางพันธุกรรมและร่องรอยฟอสซิลที่หลากหลาย นับย้อนไปได้ถึง 25-30 ล้านปีก่อน มะม่วงมีความแตกต่างประมาณ 49 สายพันธุ์กระจายอยู่ตามประเทศในเขตร้อนตั้งแต่อินเดียไปจนถึงฟิลิปปินส์ จากนั้นจึงแพร่หลายไปทั่วโลก เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบโต ยาว ปลายแหลม ขอบใบเรียบ ใบอ่อนสีแดง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีขาว ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เมล็ดแบน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง
          มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจ ปลูกเป็นพืชสวน ประเทศไทยส่งออกมะม่วงเป็นอันดับ 3 รองจากฟิลิปปินส์ และเม็กซิโก เป็นผลไม้ประจำชาติของอินเดีย ปากีสถาน และฟิลิปปินส์ รวมทั้งบังกลาเทศ
          มะม่วงมีพันธุ์มากมายดังที่ปรากฏในหนังสือพรรณพฤกษาของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ที่กล่าวถึงมะม่วงในสมัยรัชกาลที่ 5 ไว้กว่า 50 พันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น เขียวเสวย แรด น้ำดอกไม้ โชคอนันต์ อกร่อง ตัวอย่าง เช่น
           - เขียวเสวย เป็นพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม ผลยาว ด้านหลังผลโค้งนูนออก ปลายแหลม

ลูกเดือย

          ลูกเดือย เป็นธัญพืชประเภทคาร์โบไฮเดรตเดือยเป็นพืชพื้นเมืองแท้ๆของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีเส้นใยอาหารสูง เป็นพืชตระกูลเดียวกับข้าว โดยมีลักษณะเป็นเม็ดสีขาว เม็ดจะออกกลม ๆ รี ๆ รสชาติออกมันเล็กน้อย ลูกเดือยมีคุณค่าทางอาหารสูง เพราะมีปริมาณโปรตีน 13.84% คาร์โบ-ไฮเดรต 70.65% ใยอาหาร 0.23% ไขมัน 5.03% แร่ธาตุต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยบำรุงกระดูก มีอยู่ในปริมาณสูง รวมทั้งวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงสายตา วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 โดยเฉพาะวิมามินบี 1 มีในปริมาณ มาก (มีมากกว่าข้าวกล้อง) ซึ่งช่วยแก้โรค เหน็บชาด้วย ลูกเดือยยังมีกรดอะมิโนทุกชนิดที่สูงกว่าความต้องการตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ยกเว้นเมทไธโอนีนและไลซีน เช่น มีกรดกลูตามิกในปริมาณมากตามด้วยลูซีน, อลานีน,โปรลีน วาลีน, ฟินิลอลานีน, ไอโซลูซีน และอาร์จีนีนลดหลั่นลงมา มีกรดไขมันจำเป็นชนิดที่ไม่อิ่มตัวด้วย เช่น กรดโอเลอิค และกรดลิโนเลอิก รวมแล้วถึง 84% และเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมูทตี้ผักชี กับแตงโม

 ส่วนผสม
   ผักชี 120 กรัม
   แตงโม 250 กรัม
   นมเปรี้ยวรสธรรมชาติ ¼ ถ้วย
   น้ำมะนาว 1ช้อนชา
   น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา
   น้ำแข็งก้อน

วิธีทำ
          ล้างผักชีให้สะอาด หั่นผักชีเป็นชิ้นเล็ก ๆ หั่นแตงโมเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำแตงโมไปแช่เย็น นำส่วนผสมทั้งหมด (ยกเว้นน้ำแข็งก้อน) ใส่ลงในเครี่องปั่นแล้วปั่นส่วนผสมให้เป็นเนี้อเดียวกัน เทใส่แก้ว เติมน้ำแข็งสัก 4-5 ก้อน

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นมเปรี้ยว

          นมเปรี้ยว หรือ โยเกิร์ต (อังกฤษ: yoghurt (ภาษาอังกฤษใช้คำนี้เรียกรวม ๆ ทั้งนมเปรี้ยวและโยเกิร์ต) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น นมสด นมพร่องมันเนย หรือ นมถั่วเหลือง โดยการใช้แบคทีเรีย แลคโตบาซิลัส เอซิโดซิส และ สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลลัส เป็นหลักใส่ลงไปหมักผลิตภัณฑ์นมต่างๆ แบคทีเรียเหล่านี้ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมให้เป็นกรดแลคติค ทำให้มีภาวะกรดและมีรสเปรี้ยวโดยมีความเป็นกรด-เบสอยู่ระหว่าง 3.8-4.6 นมเปรี้ยว มี 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเป็นนมเปรี้ยวที่มีลักษณะเป็นน้ำคล้ายเครื่องดื่ม อีกชนิดหนึ่งเป็นนมเปรี้ยวที่มีลักษณะเหลวข้นที่เรียกว่า โยเกิร์ต
          นักประวัติศาสตร์มีความเห็นว่า โยเกิร์ตเป็นอาหารที่รวมอยู่ในโภชนาการของชนเผ่าทราเซียน อันเป็นบรรพบุรุษเก่าแก่ที่สุดของชาวบัลแกเรีย ชาวทราเซียนเก่งในการเลี้ยงแกะ คำว่า yog ในภาษาทราเซียน แปลว่า หนาหรือข้น ส่วน urt แปลว่า น้ำนม คำ yoghurt น่าจะได้มาจากการสมาสของคำทั้งสองข้างต้น ในยุคโบราณราวศตวรรษที่ 4 ถึง 6 ก่อนคริสตกาล ชาวทราเซียนมีวิธีการเก็บรักษาน้ำนมไว้ในถุง ที่ทำจากหนังแกะ เวลาไปไหนต่อไหนก็เอาถุงนี้คาดเอวไว้

ผักชี

          ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Coriandrum sativum  L. ชื่อสามัญ :    Coriander วงศ์ :   Umbelliferae ชื่ออื่น :  ผักหอม (นครพนม) ผักหอมน้อย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ผักหอมป้อม ผักหอมผอม (ภาคเหนือ) ยำแย้ (กระบี่)
          ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก ที่มีลำต้นตั้งตรง ภายในจะกลวง และมีกิ่งก้านที่เล็ก ไม่มีขน มีรากแก้วสั้น แต่รากฝอยจะมีมาก ซึ่งลำต้นนี้จะสูงประมาณ 8-15 นิ้ว ลำต้นสีเขียวแต่ถ้าแก่จัดจะออกเสียเขียวอมน้ำตาล  ใบ  ลักษณะการออกของใบจะเรียงคล้ายขนนก แต่อยู่ในรูปทรงพัด ซึ่งใบที่โคนต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าที่ปลายต้น เพราะส่วนมากที่ปลายต้นใบจะเป็นเส้นฝอย มีสีเขียวสด  ดอก ออกเป็นช่อ ตรงส่วนยอดของต้น ดอกนั้นมีขนาดเล็ก มีอยู่ 5 กลีบสีขาวหรือชมพูอ่อนๆ  ผล  จะติดผลในฤดูหนาว ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมโตประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ตรงปลายผลจะแยกออกเป็น 2 แฉก ตาวผิวจะมีเส้นคลื่นอยู่ 10 เส้น
          ส่วนที่ใช้ :   ผล เมล็ด ต้นสด
          สรรพคุณ :
           • ผล - แก้บิด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายเป็นมูก แก้ริดสีดวงทวาร มีเลือดออก แก้ท้องอืดเฟ้อ

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำว่านหางจระเข้

ส่วนผสม
   ว่านหางจระเข้ 1 ถ้วยตวง
   น้ำ 1 ถ้วยตวง
   น้ำผึ้ง ½ ถ้วยตวง

วิธีทำ
          เลือกว่านหางจระเข้ที่ใหญ่ๆ (เพราะจะได้เนื้อมาก) ปอกเปลือกว่านหางจระเข้ แช่น้ำทิ้งไว้สักพัก (เพื่อล้างน้ำยางของว่านหางจระเข้ออกให้หมด) หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ว่านหางจระเข้ลงในเครื่องปั่น เติมน้ำ ปั่นให้ละเอียด กรองเอาแต่น้ำว่านหางจรเข้ เติมน้ำผึ้งลงไป ผสมให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ แช่เย็นหรือดื่มกับน้ำแข็ง (ไม่ควรเก็บไว้เกิน 2 วัน)

ว่านหางจระเข้

          ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน
          คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ่
          ว่านหางจระเข้เป็นพืชอวบน้ำลำต้นสั้นหรือไม่มีลำต้นสูง 60–100 ซม. (24–39 นิ้ว) กระจายพันธุ์โดยตะเกียง ใบหนาอ้วนมีสีเขียวถึงเทา-เขียว บางสายพันธุ์มีจุดสีขาวบนและล่างของโคนใบ ขอบใบเป็นหยักและมีฟันเล็กๆสีขาว ออกดอกในฤดูร้อนบนช่อเชิงลด สูงได้ถึง 90 ซม (35 นิ้ว) ดอกเป็นดอกห้อย วงกลีบดอกสีเหลืองรูปหลอด ยาว 2–3 ซม. (0.8–1.2 นิ้ว) ว่านหางจระเข้ก็เหมือนพืชชนิดอื่นในสกุลที่สร้างอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นม

          นม คือ ผลิตภัณฑ์เหลว สีขาว มีกลิ่น และรสชาติดี ผลิตจากต่อมน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพศเมีย เช่น คน วัว ควาย แมว แพะ แกะ และอื่น ๆ
          โดยทั่วไปนมจะมีส่วนประกอบคล้ายกัน กล่าวคือ นมจึงเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นมจากสัตว์ชนิดใดก็เหมาะสำหรับเลี้ยงตัวอ่อนของสัตว์นั้น สำหรับคนนั้น น้ำนมแม่เป็นอาหารชนิดเดียวที่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก เพราะมีสารอาหารครบถ้วน เหมาะสำหรับการนำไปสร้างสมอง และร่างกายในช่วง 6 เดือนแรก ทั้งยังสะอาด ปลอดภัย และมีภูมิต้านทานโรคติดเชื้อหลายชนิดที่นมชนิดอื่นไม่มี การให้นมลูกยังเป็นความอบอุ่น

น้ำผึ้ง

          น้ำผึ้ง เป็นอาหารหวานที่ผึ้งผลิตโดยใช้น้ำต้อยจากดอกไม้ น้ำผึ้งมักหมายถึงชนิดที่ผลิตโดยผึ้งน้ำหวานในสายพันธุ์[Apis]] เนื่องจาก เป็นผึงเก็บน้ำหวานให้คุณภาพสูง และสามารถเลี้ยงระบบกล่องได้ น้ำผึ้งมีประวัติการบริโภคของมนุษย์มายาวนาน และถูกใช้เป็นสารให้ความหวานในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด น้ำผึ้งยังมีบทบาทในศาสนาและสัญลักษณ์นิยม รสชาติของน้ำผึ้งแตกต่างกันตามน้ำต้อยที่มา และมีน้ำผึ้งหลายชนิดและเกรดที่สามารถหาได้ นอกจากนี้ ยังมีภูมิปัญญาที่ใช้น้ำผึ้งในการรักษาอาการเจ็บป่วย
          ผึ้งน้ำหวานเปลี่ยนน้ำต้อยเป็นน้ำผึ้งด้วยขบวนการการขย้อน และเก็บไว้เป็นแหล่งอาหารหลักในรังผึ้ง honeycomb โดยผึงจะสร้าง ขี้ผึ้งจากเศษเกสรดอกไม้และน้ำเมือก โดยจะเก็บของเหลว จากการขย้อน]ลงใน ฐานหกเหลียม และปิดไว้ด้วย ขี้ผึ้งอ่อน
          น้ำผึ้งได้ความหวานจากมอโนแซ็กคาไรด์ ฟรุกโทสและกลูโคส และมีความหวานประมาณเทียบได้กับน้ำตาลเม็ด น้ำผึ้งมีคุณสมบัติทางเคมีที่ดึงดูดในการอบ และมีรสชาติพิเศษซึ่งทำให้บางคนชอบน้ำผึ้งมากกว่าน้ำตาลและสารให้ความหวานอื่น ๆ จุลินทรีย์ส่วนมากไม่เจริญเติบโตในน้ำผึ้งเพราะมีค่าแอกติวิตีของน้ำต่ำที่ 0.6 อย่างไรก็ดี บางครั้งน้ำผึ้งก็มีเอนโดสปอร์ในระยะพักตัวของแบคทีเรีย Clostridium botulinum ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารก เพราะเอนโดสปอร์สามารถแปลงเป็นแบคทีเรียที่ผลิตชีวพิษในทางเดินอาหารที่ยังไม่เจริญเต็มที่ของทารก

วันอังคารที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำลูกยอ

 ส่วนผสม
   ลูกยอสุก 1-2 ผล (ผลใหญ่)
   น้ำ 1 ½ ถ้วยตวง
   น้ำผึ้ง ½ ถ้วยตวง
   น้ำตาล ¼ ถ้วยตวง
   เกลือ ½ ช้อนชา

วิธีทำ
          นำลูกยอสุก (เกือบงอม) มาล้างให้สะอาด ใส่หม้อเติมน้ำต้มจนเปื่อย ยีเอาเมล็ดออก กรองเอาแต่น้ำลูกยอ (เอากากลูกยอออก) นำน้ำลูกยอที่ได้มาต้มต่อ เติมน้ำตาล น้ำผึ้ง และเกลือ ผสมให้เข้ากัน
ชิมรสตามชอบ แช่เย็นหรือดื่มกับน้ำแข็ง

ยอ

          ยอ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Morinda citrifolia L.) เป็นพืชพื้นเมืองในแถบโพลีเนเซียตอนใต้ แล้วแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆ ภาษามาเลย์เรียกเมอกาดู ในหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกโนนู เป็นไม้ยืนต้น ต้นสี่เหลี่ยม เปลือกต้นเรียบ ใบสีเขียวเข้ม ดอกออกเป็นช่อที่ซอกใบ ฐานดอกติดกันแน่นเป็นทรงกลม ผลทรงยาวรี เมื่ออ่อนสีเขียว พอสุกเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล เนื้อนุ่ม รสเผ็ด กลิ่นแรง มีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลเข้ม
          ใบอ่อนนำมาลวกกินกับน้ำพริก แกงจืด แกงอ่อม หรือใช้รองกระทงห่อหมก ผัดไฟแดง ลูกยอสุกกินกับเกลือหรือกะปิ ลูกห่ามใช้ตำล้มตำ ปัจจุบันมีการนำลูกยอไปคั้นเป็นน้ำลูกยอ ใช้ดื่มเป็นยาลดความดันโลหิต ทำให้นอนหลับ ป้องกันโรคภูมิแพ้
          ลูกยอบดประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตและเส้นใย มีธาตุอาหารที่พบในน้ำลูกยอเล็กน้อย ในลูกยอบดมี วิตามินซี ไนอะซิน (วิตามิน B3), เหล็ก และ โพแทสเซียม วิตามินเอ, แคลเซียม และ โซเดียม เมื่อคั้นเป็นน้ำจะเหลือแต่วิตามินซี ในปริมาณครึ่งหนึ่งของส้มดิบ แต่มีโซเดียมสูงกว่า ลูกยอมีสารเคมีหลายชนิด เช่น ลิกนัน โพลีแซคคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์ กรดไขมัน สโคโปเลติน และ อัลคาลอยด์ แม้จะมีการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารเหล่านี้ แต่ยังไม่เพียงพอต่อการสรุปถึงประโยชน์ต่อมนุษย์
          ใบสดใช้สระผม กำจัดเหา ผลยอแก่มี asperuloside แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำลูกบัวต้ม

 ส่วนผสม
   เมล็ดบัว 1 ถ้วยตวง
   น้ำ 2 ถ้วยตวง
   น้ำตาลทรายแดง ½ ถ้วยตวง

วิธีทำ
          เลือกเมล็ดบัวที่มีลักษณะกลมค่อนข้างแก่ แกะเปลือกออก และล้างน้ำให้สะอาด ต้มน้ำจนเดือด ใส่เมล็ดบัวลงในน้ำเดือดจนสุก เติมน้ำตาลทรายแดง ชิมรสตามชอบ ทิ้งไว้ให้เย็น รับประทานกับน้ำแข็งบด

วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำเก๊กฮวย

 ส่วนผสม
   ดอกเก๊กฮวยแห้ง  2 ถ้วยตวง
   น้ำตาลทราย  1 ถ้วยตวง
   น้ำเปล่า  4 ถ้วยตวง

วิธีทำ
          ล้างดอกเก๊กฮวยแห้งให้สะอาด เติมน้ำลงในหม้อใส่ดอกเก๊กฮวยต้มจนน้ำเดือด และน้ำเก๊กฮวยเป็นสีเหลืองอ่อน กรองเอากากออก เติมน้ำตาลทรายต้มต่อจนน้ำตาลละลาย

เบญจมาศ (เก๊กฮวย คือ เบญจมาศสวน)

          เบญจมาศ หรือ (อังกฤษ: Chrysanthemum; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendranthemum grandifflora) เป็นไม้ตัดดอกอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกเลี้ยงและใช้กัน มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากกุหลาบ (2537) เนื่องจากเป็นไม้ดอกที่มีรูปทรงสวยงาม สีสันสดใส ปลูกเลี้ยงง่าย และมีหลายพันธุ์ให้เลือก มีถิ่นกำเนิดในประเทศญี่ปุ่นและจีน
          ดอกเบญจมาศมีอยู่หลายสายพันธุ์ ชนิดเลื่องชื่อคือ เบญจมาศสวน (Chrysanthemum indicum Linn. ในวงศ์ Compositae) กับเบญจมาศหนู (Chrysanthemum morifolium Ramat. ในวงศ์เดียวกัน) ซึ่งเรียกรวมกันว่า "ดอกเก๊กฮวย" (菊花 júhuā ?) นิยมนำมาตากแห้ง ใช้ชงกับใบชา หรือต้มกับน้ำตาลทำน้ำเก๊กฮวย
          เบญจมาศที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก มี 3 ประเภท คือ
           1. Exhibition Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดใหญ่มาก ดอกมีรูปทรงกลม ลำต้นสูงใหญ่ แต่ละต้นเลี้ยงให้มีเพียง 1 ดอก ปกติจะปลูกสำหรับการโชว์
           2. Standard Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดเล็กกว่า Exhibition Type แต่ละต้นเลี้ยงให้มี 3-4 กิ่ง และแต่ละกิ่งให้มีเพียง 1 ดอก
           3. Spray Type เป็นเบญจมาศที่มีดอกขนาดเล็กกว่า Standard Type แต่ละกิ่งมีหลายดอก และมี 3-4 กิ่งต่อต้น หรืออาจมีมากกว่านี้ ตัดดอกขายในลักษณะเป็นกิ่งหรือต้องขายทั้งต้น
          พันธุ์เบญจมาศอยู่กว่า 1,000 พันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยเป็นประเภท Standard Type

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำนมข้าวโพด

ส่วนผสม
   ข้าวโพด  1 ถ้วยตวง
   น้ำเชื่อม 1 ถ้วยตวง
   น้ำต้มสุก 4 ถ้วยตวง
   นมสด  2  ช้อนโต๊ะ
   เกลือ  ½ ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
          ล้างข้าวโพดให้สะอาด ต้มข้าวโพดจนสุก หั่นข้าวโพดเอาแต่เม็ด นำเม็ดข้าวโพดใส่เครื่องปั่น เติมน้ำต้มสุก น้ำเชื่อม นมสด และเกลือ ปั่นเข้ากันจนละเอียด

ข้าวโพด

          ข้าวโพด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Zea mays Linn.) ชื่ออื่นๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว์
          ข้าวโพดเป็นพืชจำพวกหญ้า รากชั่วคราว เรียกว่า ไพรี หลังจากข้าวโพดเจริญเติบโตได้ประมาณ 7 – 10 วัน รากถาวรจะงอกขึ้นรอบ ๆ ข้อปลาในระดับใต้พื้นดินประมาณ 1-2 นิ้ว รากถาวรนี้ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะแผ่ออกไปโดยรอบประมาณ 100 เซนติเมตร รากของข้าวโพดเป็นระบบรากฝอย (fibrous root system) นอกจากรากที่อยู่ใต้ดินแล้ว ยังมีรากยึดเหนี่ยว (brace root) ซึ่งเกิดขึ้นรอบ ๆ ข้อที่อยู่ใกล้ผิวดิน มีลำต้นตั้งตรงแข็งแรง เนื้อภายในฟ่ามคล้ายฟองน้ำสูงประมาณ 1.4 เมตร ลำต้นมีข้อ (node) และปล้อง (internode) ปล้องที่อยู่ในดินและใกล้ผิวดินสั้น และจะค่อย ๆ ยาวขึ้นไปทางด้านปลาย ปล้องเหนือพื้นดินจะมีจำนวนประมาณ 8-20 ปล้อง ลำต้นสดมีสีเขียว ใบ ยาวรี เป็นเส้นตรงปลายแหลม ยาวประมาณ 30-100 ซม. เส้นกลางของใบจะเห็นได้ชัด ตรงขอบใบมีขนอ่อนๆ มีเขี้ยวใบ ลักษณะของใบรวมทั้งสีของใบแตกต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของพันธุ์ บางพันธุ์ใบสีเขียว บางพันธุ์ใบสีม่วงและบางพันธุ์ใบลาย จำนวนใบก็เช่นเดียวกันอาจมีตั้งแต่ 8-48 ใบ

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำทับทิม

ส่วนผสม
   เมล็ดทับทิม  2  ถ้วยตวง
   น้ำเชื่อม  1  ถ้วยตวง
   น้ำต้มสุก  4  ถ้วยตวง

วิธีทำ
          เอาเมล็ดทับทิมขยำกับน้ำต้มให้ได้เนื้อและน้ำทับทิมมากที่สุด แล้วกรองเอาแต่น้ำทับทิมด้วยผ้าขาว  ใส่น้ำทับทิมลงในหม้อตั้งไฟประมาณ 5  นาที เติมน้ำเชื่อม และเกลือ ผสมให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ แช่เย็นหรือดื่มกับน้ำแข็ง

ทับทิม

          ทับทิม (Pomegranate) ชื่อท้องถิ่น เซี๊ยะลิ้ว, พิลา, พิลาขาว, มะก่องแก้ว, มะเก๊าะ, หมากจัง เป็นไม้ผลขนาดเล็ก มีขนาดประมาณ 5-8 เมตร
          ทับทิมมีถิ่นกำเนิดจากตะวันออกของประเทศอิหร่าน ทางตอนใต้ของอัฟกานิสถานและทางตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย ทับทิมจึงชอบอากาศหนาวเย็นและอยู่บนพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะอย่างน้อย 300 เมตร ยิ่งอากาศหนาวเนื้อทับทิมจะมีสีแดงเข้มมากขึ้น
          ผลทับทิมใช้รับประทานเป็นผลไม้มีรสหวานหรือเปรี้ยวอมหวานทับทิมเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ น้ำทับทิมมีวิตามินซีสูงและยังมีสารเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูงเหมาะสำหรับการดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
          น้ำทับทิมมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดและมีประสิทธิภาพสูงมากสามารถลดภาวะการแข็งตัวของเลือดจากไขมันในเลือดสูง บรรเทาโรคโรคหัวใจและความดันโลหิตสูง

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำมะนาวปั่น

 ส่วนผสม
   มะนาว  4  ผล
   น้ำต้มสุก  2   ถ้วยตวง
   น้ำเชื่อม  1   ถ้วยตวง
   เกลือป่น  1  ช้อนชา

วิธีทำ
          ล้างมะนาวให้สะอาด  คั้นเอาแต่น้ำน้ำมะนาว เติมน้ำต้มสุก  น้ำเชื่อม  เกลือ  และน้ำแข็งบด  ปั่นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ

น้ำมะนาว

 ส่วนผสม
   มะนาว  4  ผล
   น้ำต้มสุก  2   ถ้วยตวง
   น้ำเชื่อม  1   ถ้วยตวง
   เกลือป่น  1  ช้อนชา

วิธีทำ
          ล้างมะนาวให้สะอาด  คั้นเอาแต่น้ำมะนาว  เติมน้ำเชื่อม  น้ำต้มสุก และเกลือ  คนให้เข้ากัน  ชิมรสตามชอบ

มะนาว

          มะนาว (อังกฤษ: Lime) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง ผลมีรสเปรี้ยวจัด จัดอยู่ในสกุลส้ม (Citrus) ผลสีเขียว เมื่อสุกจัดจะเป็นสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบๆ ชุ่มน้ำมาก นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย
          ผลมะนาวโดยทั่วไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 – 4.5 ซม. ต้นมะนาวเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูงเต็มที่ราว 5 เมตร ก้านมีหนามเล็กน้อย มักมีขนดก ใบยาวเรียวเล็กน้อย คล้ายใบส้ม ส่วนดอกสีขาวอมเหลือง ปกติจะมีดอกผลตลอดทั้งปี แต่ในช่วงหน้าหนาว จะออกผลน้อย และมีน้ำน้อย
          มะนาวเป็นพืชพื้นเมืองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้คนในภูมิภาคนี้รู้จักและใช้ประโยชน์จากมะนาวมาช้านาน น้ำมะนาวนอกจากใช้ปรุงรสเปรี้ยวในอาหารหลายประเภทแล้ว ยังนำมาใช้เป็นเครื่องดื่ม ผสมเกลือ และน้ำตาล เป็นน้ำมะนาว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศทั่วโลก นอกจากนี้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บางชนิดยังนิยมฝานมะนาวเป็นชิ้นบางๆ

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำนมถั่วเหลือง

 ส่วนผสม
   ถั่วเหลือง  1 กก.
   น้ำตาลทราย  1  กก.
   น้ำ  8  ลิตร
   เกลือป่น  1  ช้อนชา

วิธีทำ
          นำถั่วเหลืองมาล้างน้ำและนำสิ่งสกปรกออกให้สะอาด นำถั่วเหลืองมาแช่น้ำไว้ประมาณ 5-6 ชม. จากนั้นเติมน้ำปั่นให้ละเอียด  แล้วกรองเอากากออกด้วยผ้าขาวบาง (ไม่จำเป็นต้องกรอง) ต้มน้ำนมถั่วเหลืองที่ได้จนเดือด เติมน้ำตาลทราย และเกลือ ชิมรสตามชอบ (หากต้องการให้หอมมัน ควรเติมถั่วลิสงคั่วสัก  1  กำมือ ตอนปั่น)

ถั่วเหลือง

          ถั่วเหลือง (อังกฤษ: Soybean; ชื่อวิทยาศาสตร์: Glycine max (L.) Merrill) เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว ได้มีรายงานการปลูกถั่วเหลืองในประเทศจีนเมื่อเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าส่วนใดของประเทศจีนเป็นถิ่นกำเนิดที่สันนิษฐานและยอมรับกันโดยทั่วไปคือบริเวณหุบเขาแม่น้ำเหลือง (ประมาณเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ) เพราะว่าอารยธรรมของจีนได้ถือกำเนิดที่นั่น และประกอบกับมีการจารึกครั้งแรกเกี่ยวกับถั่วเหลือง เมื่อ 2295 ปีก่อนพุทธกาล ที่หุบเขาแม่น้ำเหลือง จากนั้นถั่วเหลืองได้แพร่กระจายสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล แล้วเข้าสู่ยุโรปในช่วงหลัง พ.ศ. 2143 และไปสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2347 จากนั้นกว่า 100 ปี ชาวอเมริกันได้ปลูกถั่วเหลืองเพื่อเป็นอาหารสัตว์ใช้เลี้ยงวัวโดยไม่ได้นำเมล็ดมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น จนถึงปี พ.ศ. 2473 สหรัฐอเมริกาได้นำพันธุ์ถั่วเหลืองจากจีนเข้าประเทศกว่า 1,000 สายพันธุ์ เพื่อการผสมและคัดเลือกพันธุ์ ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีเมล็ดโต ผลผลิตสูง

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำมะเขือเทศปั่น

 ส่วนผสม
   มะเขือเทศ  1/2  กก.
   น้ำเชื่อม  1 ถ้วยตวง
   น้ำต้มสุก  2  ถ้วยตวง
   เกลือ  1/2 ช้อนชา

วิธีทำ
          ล้างมะเขือเทศสุกให้สะอาด  ผ่าครึ่งเอาเมล็ดออก เติมน้ำเชื่อม น้ำต้มสุก  และเกลือ  ปั่นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ

มะเขือเทศ

          มะเขือเทศ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Lycopersicon esculentum Mill.) เป็นพืชชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มะเขือเทศขนาดปานกลางจะมีปริมาณวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งผล มะเขือเทศผลหนึ่งจะมีวิตามินเอราว 1 ใน 3 ของวิตามินเอที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน นอกจากนี้มะเขือเทศยังมีโปแตสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียมและแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด
          เป็นพืชล้มลุกอายุเพียง 1 ปี ลำต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม มีขนอ่อน ๆ ปกคลุม ใบเป็นใบประกอบ ออกสลับกัน ใบย่อยมีขนาดไม่เท่ากัน บางใบเล็กรียาว บางใบกลมใหญ่ ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยักลึกคล้ายฟันเลื่อยมีขนอ่อน ๆ ออกดอกเป็นช่อหรือดอกเดี่ยว บริเวณซอกใบ ดอกมีสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวประมาณ 5-6 กลีบ ผลเป็นผลเดี่ยว มีขนาดรูปร่างและสีต่างกัน ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 3 เซนติเมตร จนถึงใหญ่ประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างมีทั้งกลม กลมแบน หรือกลมรี ผิวนอกลีบเป็นมัน ผลดิบมีสีเขียว หรือเขียวอมเทา เมื่อสุกจะมีสีเหลือง สีส้ม หรือสีแดง เนื้อภายในฉ่ำด้วยน้ำมีรสเปรี้ยว เมล็ดมีเป็นจำนวนมาก

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำมะละกอปั่น

 ส่วนผสม
   เนื้อมะละกอสุก  2  ถ้วยตวง
   น้ำเชื่อม  1  ถ้วยตวง
   น้ำต้มสุก  3   ถ้วยตวง
   เกลือ 1/2 ช้อนชา

วิธีทำ
     ปอกเปลือกมะละกอสุกเอาเมล็ดออก  ล้างมะละกอสุกให้สะอาด หั่นเนื้อมะละกอสุกเป็นชิ้นเล็กๆ  เติมน้ำเชื่อม  น้ำต้มสุก  และเกลือ  ปั่นให้ละเอียด ชิมรสตามชอบ

มะละกอ

          มะละกอ เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ก็ได้
          มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกินไม่ได้
          นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่งสามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำรากบัวต้ม

 ส่วนผสม
   รากบัว 4 ถ้วยตวง
   น้ำตาล 2 ถ้วยตวง
   น้ำสะอาด 6 ถ้วยตวง

วิธีทำ
          ล้างรากบัวให้สะอาด  ฝานรากบัวเป็นชิ้นบางๆ  นำไปต้มกับน้ำ จนน้ำเป็นสีชมพู  กรองเอากากออก  เติมน้ำตาลต้มต่ออีกสักพัก ชิมรสตามชอบ ดื่มอุ่นๆ หรือรอให้เย็น

บัว

          ดอกบัว เป็นพืชน้ำล้มลุก ลักษณะลำต้นมีทั้งที่เป็นเหง้า ไหล หรือหัว ใบเป็นใบเดี่ยวเจริญขึ้นจากลำต้น โดยมีก้านใบส่งขึ้นมาเจริญที่ใต้น้ำ ผิวน้ำหรือเหนือน้ำ รูปร่างของใบส่วนใหญ่กลมมีหลายแบบ บางชนิดมีก้านใบบัวและผิวบัวยังมีลักษณะเป็นมันวาวอีกด้วย
          บัวเป็นราชินีแห่งไม้น้ำ จัดเป็นพันธุ์ไม้น้ำที่ถือเป็นสัญญลักษณ์ของคุณงามความดี บัวหลวงชอบขึ้นในน้ำจืดออกดอกตลอดปี ชอบน้ำสะอาด อยู่ในน้ำลึกพอสมควร ถิ่นกำเนิดของบัวอยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ จะเริ่มบานตั้งแต่ตอนเช้า ก้านดอกยาวมีหนามเหมือนก้านใบ ชูดอกเหนือน้ำ และชูสูงกว่าใบเล็กน้อย กลีบเลี้ยง 4-5 กลีบ สีขาวอมเขียวหรือสีเทาชมพู ร่วงง่าย กลีบดอกจำนวนมากเรียงซ้อนหลายชั้น เกสรตัวผู้มีจำนวนหลายสี

          บัวที่พบและนิยมปลูกในประเทศไทย

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

น้ำมะพร้าวต้ม

ส่วนผสม
   มะพร้าว  2  ลูก
   น้ำตาล  1   ถ้วยตวง 
   น้ำ 1 ถ้วยตวง


วิธีทำ
          ปอกเปลือกมะพร้าว เทเอาน้ำข้างในเก็บไว้ แล้วตักเอาเนื้อออกมา นำเนื้อและน้ำมะพร้าวมาต้มด้วยกัน เติมน้ำตาลทราย และน้ำ ชิมรสตามชอบ นำไปแช่เย็นหรือดื่มกับน้ำแข็ง

น้ำมะพร้าวปั่น

ส่วนผสม
   มะพร้าว  2  ลูก
   น้ำเชื่อม  1   ถ้วยตวง 
   น้ำต้มสุก 1 ถ้วยตวง

วิธีทำ
          ปอกเปลือกมะพร้าว เทเอาน้ำข้างในเก็บไว้ แล้วตักเอาเนื้อออกมา นำเนื้อและน้ำมะพร้าวมาปั่น เติมน้ำเชื่อม น้ำต้มสุก ปั่นจนส่วนผสมเข้ากัน ชิมรสตามชอบ นำไปแช่เย็นหรือดื่มกับน้ำแข็ง

มะพร้าว

          มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล
          มะพร้าว เป็นพืชยืนต้น ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนก ผลประกอบด้วยเอพิคาร์ป (epicarp) คือเปลือกนอก ถัดไปข้างในจะเป็นมีโซคาร์ป (mesocarp) หรือใยมะพร้าว ถัดไปข้างในเป็นส่วนเอนโดคาร์ป (endocarp) หรือกะลามะพร้าว ซึ่งจะมีรูสีคล้ำอยู่ 3 รู สำหรับงอก ถัดจากส่วนเอนโดคาร์ปเข้าไปจะเป็นส่วนเอนโดสเปิร์ม หรือที่เรียกว่าเนื้อมะพร้าว ภายในมะพร้าวจะมีน้ำมะพร้าว ซึ่งเมื่อมะพร้าวแก่ เอนโดสเปิร์มก็จะดูดเอาน้ำมะพร้าวไปหมด
          ขณะที่มะพร้าวยังอ่อน ชั้นเอนโดสเปิร์ม (เนื้อมะพร้าว) ภายในผลมีลักษณะบางและอ่อนนุ่ม ภายในมีน้ำมะพร้าว ซึ่งในระยะนี้เรามักสอยเอามะพร้าวลงมารับประทานน้ำและเนื้อ เมื่อมะพร้าวแก่