วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ลำไย

          ลำไย ชื่อวิทยาศาสตร์: Dimocarpus longan(มักเขียนผิดเป็น ลำใย) มีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan) วงศ์ Sapindaceae เป็นพืชพื้นเมืองในพื้นที่ราบต่ำของลังกาอินเดียตอนใต้ บังกลาเทศ พม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสีน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อ สีขาวครีม ผลทรงกลมเป็นช่อ ผลดิบเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ผลสุกสีน้ำตาลล้วน เนื้อลำไยสีขาวหรือชมพูอ่อน เมล็ดสีดำเป็นมัน เนื้อล่อนเม็ด
          ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในลังกาอินเดียพม่าหรือจีนแต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ 1,766 ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือRuYaของจีนเมื่อ 110 ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปีพ.ศ. 1514 ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปี
พ.ศ. 1585 แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน
          ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา พม่าและประเทศแถบเอเชียลังกาพม่าและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้าสู่ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ในประเทศไทย ทางภาคเหนือมีลำไยพันธุ์พื้นเมืองเรียก "ลำไยกะลา" ในสมัยรัชการลที่ 5 มีชาวจีนนำพันธู์ลำไยเข้ามาถวายพระราชชายา เจ้าดารารัศมี จำนวน 5 ต้น เป็นพันธุ์เบี้ยวเขียว ทรงให้ปลูกที่เชียงใหม่ 3 ต้น ที่ตรอกจันทร์ กรุงเทพฯ 2 ต้น หลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล (เหรียญสรรพเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมามีการขยายพันธุ์จากต้นในจังหวัดเชียงใหม่จากนั้นก็ขยายสู่ภูมิภาคต่างๆในล้านนาโดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการกลายพันธุ์ (Mutation) เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของลำไย
          โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิประเทศที่ดีในลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งเก็บผลขายต้นเดียวได้ราคาเป็นหมื่น เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผลิตผลต่อต้นได้ 40-50 เข่งพัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูนถ้านับจากการเสด็จกลับล้านนาครั้งแรกของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเมื่อปี พ.ศ. 2457 จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืนเมื่อปี พ.ศ. 2511 ก็พัฒนามาร่วม 60 ปีและถ้านับถึงปีปัจจุบัน มีการพัฒนาพันธุ์ร่วม 90 ปีแล้วจนขณะนี้มีลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูกมากถึง 157,220 ไร่
          ลำไยปลูกในหลายประเทศที่สำคัญคือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง 26 พันธุ์ คือพันธุ์ที่ปลูกในมณฑล กวางตุ้ง 12 สายพันธุ์ปลูกในประเทศไต้หวันอีก 15 สายพันธุ์ปลูกในสหรัฐอเมริกามี 1 สายพันธุ์คือ พันธุ์โคฮาลาพันธุ์ลำไยในประเทศไทย จำแนกออกตามลักษณะผลเนื้อเมล็ดและรสชาติแบ่งได้ 5 พวก คือ
          - ลำไยกะโหลก เป็นพันธุ์ลำไยที่ให้ผลขนาดใหญ่มีเนื้อหนารสหวานมีหลายสายพันธุ์ คือ
             + สีชมพู ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก เนื้อมีสีชมพูเรื่อๆ รสดีมากที่สุด
             + ตลับนาค ผลใหญ่ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบแห้ง เปลือกบาง
             + เบี้ยวเขียว หรืออีเขียว ผลใหญ่กลมเบี้ยว เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ เนื้อล่อน
             + อีดอ ผลขนาดปานกลาง เมล็ดเล็ก รสหวาน แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ อีดอยอดแดง ใบอ่อนมีสีแดงกับอีดอยอดเขียว ใบอ่อนมีสีเขียว
             + อีแดง สีเปลือกของผลค่อนข้างแดง เป็นพันธุ์กลาง กิ่งเปราะหักง่าย ผลกลมใหญ่เมล็ดใหญ่ รสหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คืออีแดงเปลือกหนา มีใบป้อมใหญ่ผลใหญ่ กับอีแดงเปลือกบาง ใบยาวผลเล็กกว่าอีแดงเปลือกหนา
             + อีดำ ผลใหญ่ ใบดำ เนื้อหนา เมล็ดเล็ก หวานกรอบ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ อีแห้วยอดแดง เมล็ดปานกลาง อีแห้วยอดขาว ผลกลมใหญ่ หัวเบี้ยว เนื้อกรอบ ไม่หวาน
          - ลำไยกระดูก เป็นพันธุ์พื้นเมือง ทรงพุ่มกว้างใบหนาทึบ ผลเล็กมีน้ำมาก เนื้อน้อยไม่หวาน มีน้ำตาลประมาณ 13.75% ขึ้นได้ทั่วไปปลูกง่าย เหลือให้เห็นน้อย เพราะไม่นิยมปลูก ไม่มีราคา
          - ลำไยธรรมดา ผลปานกลาง เนื้อหนากว่าลำไยพันธุ์กระดูก เนื้อกรอบบางมีน้ำมาก ให้ผลดก
          - ลำไยสายน้ำผึ้ง ลักษณะคล้ายลำไยธรรมดา แต่เนื้อมีสีเหลืองอ่อน เนื้อมีรสดี หอมกรอบ เมล็ดเล็ก
          - ลำไยเถาหรือลำไยเครือ เป็นไม้ต้นรอเลื้อย ลำต้นไม่มีแก่นจึงพันเข้ากับรั้วหรือหลัก ผลเล็กและเมล็ดโตกว่าลำไยบ้าน เนื้อหุ้มเมล็ดบาง นิยมปลูกไว้ประดับมากกว่าปลูกไว้รับประทาน ชอบขึ้นตามป่าเขา
          - ลำไยขาว ผลขนาดเล็กกว่าลำไยทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลอ่อนเกือบขาว เนื้อสีขาวใส เมล็ดลีบ รสหวาน


          เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง ลำต้นมีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30-40 ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็งสามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้ เนื้อลำไยกินสดเป็นผลไม้ ทำเป็นอาหารหวาน เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย วุ้นลำไย ลำไยลอยแก้ว น้ำลำไย หรือแปรรูป เช่น บรรจุกระป๋อง ตากแห้ งสามารถทำเป็นชาชงดื่ม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้หลับสบายเจริญอาหาร แต่ถ้กินลำไยมากเกินไปจะเกิดอาการร้อนใน แผลในปาก หรือตาแฉะได้
          กองวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ทำการวิเคราะห์ส่วนปรักอบของลำไยปรากฏผลว่า
          1. ลำไยสดทั่วไปประกอบด้วยน้ำ 81.1% คาร์โบไฮเดรต 16.98% โปรตีน 0.97% เถ้า 0.56% กาก 0.28% และไขมัน 0.11%
          2. ในลำไยสด 100 กรัมจะมีค่าความร้อน 72.8 แคลอรี และมีวิตามิน 69.2 มิลลิกรัม แคลเซียม 57 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 35.17 มิลลิกรัม และธาตุเหล็ก 0.35 มิลลิกรัม
          3. ลำไยแห้งประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 69.06% น้ำ 21.27% โปรตีน 4.61% เถ้า 3.33% กาก 1.50% และไขมัน 0.171%
          4. ลำไยแห้ง 100 กรัม จะมีค่าความร้อน 296.1 แคลอรี แคลเซียม 32.05 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 150.5 มิลลิกรัม โซเดียม 4.78 มิลลิกรัม เหล็ก 2.85 มิลลิกรัม โพแทสเซียม 1390.3 มิลลิกรัม กรดแฟนโทซินิค 0.72 มิลลิกรัม วิตามินบี 12 จำนวน 1.08 มิลลิกรัม
          ในเมล็ดลำไยมีปริมาณโปรตีนรวม 6.5% ปริมาณไขมันรวม 1.94% และปริมาณเยื่อใยรวมเป็น 8.33% ค่าพลังงานที่ใช้ประยชน์ได้จริงเป็น 3,365 kcal/kg สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ได้ ในเปลือกหุ้มเมล็ดของลำไยมีปริมาณแทนนินสูง (จากวิกิพีเดีย)



น้ําผลไม้ที่แนะนำ
- น้ำลำไยปั่น
- น้ำลำไยต้ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น