วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กล้วยหอม

           กล้วยเป็นไม้ดอกล้มลุกขนาดใหญ่ ส่วนที่อยู่เหนือพื้นดินทั้งหมดของกล้วยเจริญมาจากส่วนที่เรียกว่า "หัว" หรือ "เหง้า" โดยปกติแล้ว ต้นกล้วยจะมีความสูงและแข็งแรงพอสมควรเลยทีเดียว ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นต้นไม้ ซึ่งจริงๆ แล้วส่วนที่ดูเหมือนลำต้นนั้นจริงแล้วก็คือ "ลำต้นเทียม" (pseudostem) ใบของกล้วยประกอบไปด้วย "ก้านใบ" (petiole) และแผ่นใบ (lamina) ฐานของก้านใบแผ่ออกเป็นกาบ กาบนี้จะรวมตัวกันอย่างหนาแน่นทำให้เกิดลักษณะของลำต้นเทียม มีหน้าที่ในการชูก้านใบ และพยุงให้กาบใบตั้งตรงดูคล้ายกับว่าเป็นต้นของกล้วย เมื่อแรกเริ่มกล้วยจะเจริญขอบของกาบจะจรดกันจนมีรูปร่างคล้ายท่อ เมื่อมีใบเจริญขึ้นใหม่ที่บริเวณใจกลางลำต้นเทียม ขอบกาบที่จรดกันนั้นก็จะแยกออกจากกัน พันธุ์กล้วยนั้นมีความผันแปรเป็นอย่างมากขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูกและสภาพแวดล้อม โดยมากกล้วยจะสูงประมาณ 5 เมตร  จาก 'กล้วยหอมแคระ (Dwarf Cavendish)' ซึ่งสูงประมาณ 3 เมตร ไปจนถึง 'กล้วยหอมทอง (Gros Michel)' ที่สูงประมาณ 7 เมตร หรือมากกว่า ใบแรกเจริญจะขดเป็นเกลียวก่อนที่จะแผ่ออก อาจยาวได้ถึง 2.7 เมตร และกว้างได้ถึง 60 ซม. แผ่นใบจะมีขนาดใหญ่ ปลายใบมน รูปใบขอบขนาน โคนใบมน มีสีเขียว ใบฉีกขาดได้โดยง่ายจากลม ทำให้บางครั้งก็มองดูคล้ายใบเฟิร์น รากเป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้างมากกว่าทางแนวดิ่ง
               เมื่อกล้วยเจริญเติบโตเต็มที่ หัวจะสร้างใบสุดท้ายที่เรียกว่า "ใบธง" จากนั้นจะหยุดสร้างใบใหม่ และเริ่มสร้างช่อดอก (inflorescence)
ลำต้นที่มีช่อดอกอ่อนบรรจุอยู่ จะพัฒนาขึ้นภายในลำต้นเทียม และในที่สุดก็จะโผล่ออกที่ด้านบนของลำต้นเทียม แต่ละลำต้นเทียมจะสร้างช่อดอกเพียงช่อเดียว ซึ่งเรียกว่า "ปลี (banana heart)" (บางครั้งมีกรณีพิเศษ เช่นกล้วยในประเทศฟิลิปปินส์สร้างปลีขึ้นมาห้าหัว) ช่อดอกประกอบด้วยกลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ มีใบประดับสีม่วงแดงหรือที่เรียกว่า "กาบปลี" (บางครั้งอาจมีการเข้าใจผิดเรียกเป็นกลีบดอก) ระหว่างแถวของช่อดอกย่อย ช่อดอกย่อยของแต่ละช่อมีดอกเรียงซ้อนกันอยู่ 2 แถว ดอกตัวเมีย (สามารถเจริญเป็นผลได้) จะอยู่ในช่อดอกย่อยที่บริเวณโคนปลีใกล้กับใบ ดอกตัวผู้จะอยู่ที่ปลายปลี หรือส่วนที่เรียกว่า "หัวปลี" รังไข่จะอยู่ต่ำกว่าซึ่งทำให้กลีบดอกขนาดเล็กและส่วนอื่นๆ ของดอกจะอยู่บริเวณปลายรังไข่ หลังจากที่ให้ผลแล้วลำต้นเทียมจะตายลง แต่หน่อหรือตะเกียงจะพัฒนาขึ้นจากตา (bud) ที่ส่วนหัว ทำให้กล้วยเป็นพืชหลายปี หากเกิดขึ้นหลายๆ หน่อพร้อมกันจะเรียกว่า "การแตกกอ" ในการเพาะปลูก จะยอมให้กล้วยเจิญเติบโตเพียงหน่อเดียวเท่านั้นเพื่อให้ง่ายต่อการจัดจัดการพื้นที่ปลูก
               ผลกล้วยจะพัฒนามาจากดอกเพศเมีย กลุ่มดอกเพศเมีย 1 กลุ่ม เมื่อเจริญเป็นผลเรียกว่า "หวี (hands)" ซึ่งหวีหนึ่งหวีจะมีผลกล้วยอยู่ประมาณ 20 ผล กลุ่มหวีบนช่อดอกเจริญเป็น "เครือ (banana stem)" ซึ่งอาจมีได้ 3-20 หวี ผลของกล้วยมีการเจริญได้โดยที่ไม่ต้องมีการผสมพันธุ์ จึงทำให้กล้วยส่วนมากไม่มีเมล็ด
               ผลกล้วยได้รับการเรียกขานว่าเป็น "leathery berry (ลูกเบอร์รี่ที่คล้ายแผ่นหนัง)" เนื่องจากมีชั้นป้องกันภายนอกหรือเปลือก ที่มีสายบางๆ ตามยาว ซึ่งมันก็คือ มัดท่อลำเลียงโฟลเอ็ม อยู่ในระหว่างเปลือกและส่วนที่รับประทานได้ภายในผล เนื้อกล้วยมีเนื้อนิ่มและสีเหลือง มีรสหวาน เมล็ดกล้วยมีลักษณะกลมๆ เล็กๆ บางพันธุ์ก็อาจมีขนาดใหญ่ เปลือกหนาแข็งสีดำ สำหรับในสายพันธุ์ที่นิยมปลูกจะมีเมล็ดกล้วยขนาดเล็กมาก หรือเกือบจะไม่มีเลย เหลือเป็นเพียงแค่จุดสีดำๆ เล็กๆ ภายในเนื้อกล้วยเท่านั้น


น้ําผลไม้ที่แนะนำ
 - น้ำกล้วยหอมปั่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น