วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ชมพู่

          ชมพู่ มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ได้แก่ ชมพู่เพชรสุวรรณ, ชมพู่เพชรสายรุ้ง, ชมพู่เพชรน้ำผึ้ง, ชมพู่ทับทิมจันทร์, ชมพู่ทูลเกล้า, ชมพู่น้ำดอกไม้, เป็นต้น มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า โรซี่แอปเปิ้ล (Rosoe apple)
          ชมพู่ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ยูจีเนีย จาวานิคา (Eugenia Javanica) จัดอยู่ในวงศ์ ไมร์ทาซีอี้ (Myrtaceae) ชมพู่ จัดเป็นไม้ผลที่นิยมบริโภคกันโดยทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บริโภคกันภายในประเทศทั้งนี้เนื่องจาก ชมพู่เป็นผมไม้ที่ช้ำง่ายและอายุเก็บรักษาค่อนข้างสั้น ปริมาณผลผลิตยังไม่มากนัก จึงมีการส่งออกเพียงเล็กน้อย ตลาดจะอยู่ในแถบเอเชีย
          ลักษณะของต้นชมพู่ ชมพู่เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ทรงพุ่ม ใบหนาเป็นมันใบโตพอสมควร ดอกจะบานออกมาเป็นฝอยฟูคล้ายกับดอกกระถิน มีสีขาวสีเขียวใบไม้ สีชมพูอ่อนๆผสมผสานกันอยู่ ผลชมพู่ลักษณะกลม แป้น สีเขียวทางขั้วเล็ก เมล็ดในเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีเยื่อใยฟูนิ่มอยู่ภายนอก การปลูก ปลูกง่าย
จะปลูกโดยการเพาะเมล็ด มาเป็นกล้าไปปลูกก็ได้เจริญเติบโตง่าย
          ชมพู่มีลำต้นค่อนข้างใหญ่ สูงประมาณ 15 – 25 เมตร ลำต้นขรุขระไม่ตรง แตกกิ่งก้านสาขามาก สีน้ำตาลคล้ำ ใบค่อนข้างใหญ่เรียวยาวเป็นมัน ดอกสีขาวเป็นแบบชนิดดอกสมบูรณ์เพศ ดอกใหญ่มีกลิ่นหอมเล็กน้อย ผลมีลักษณะคล้ายระฆังคว่ำ เนื้อสีขาวถึงขาวขุ่น ภายในผลหนึ่งๆจะมี 1 – 3 เมล็ด เวลาแก่จัดเมล็ดจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาลเข้ม
          ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของชมพู่ ชมพู่เป็นไม้ผลที่มีคนนิยมปลูกมาก เพราะปลูกง่าย โตเร็ว มีรสชาติหวานกรอบ มีวิตามินซีสูง ชมพู่จัดเป็นไม้ผลเมืองร้อนมีถิ่นกำเนิดแถบประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย
จัดเป็นพืชตระกูลเดียวกับหว้า และยูคาลิปตัส
          ชมพู่เป็นผลไม้พื้นบ้านที่เรากินเล่นกันมาตั้งแต่เด็ก แต่ที่จริงแล้วชมพู่สีเขียว สีแดงที่เราชอบกินนั้นเป็นผลไม้ที่เรานำเข้ามาปลูกจากอินโดนีเซีย บ้างจากมาเลเชียบ้างเรียกว่าเป็นผลไม้นอกได้เต็มปาก ชมพู่พื้นบ้านของเราจริงๆ นั้นก็มีคือชมพู่ น้ำดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมจริง แต่เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ รสก็ออกเปรี้ยวอมหวาน ไม่หวานกรอบเหมือนชมพู่ สีแดง สีเขียวที่วางขายทั่วไป
          ประโยชน์ของ ชมพู่นอกจากกินอร่อยแล้วยังเป็นผลไม้ที่มี สรรพคุณบำรุงหัวใจ เป็นยาชูกำลัง ทำให้กระชุ่มกระชวย มีวิตามินเอสูงช่วยบำรุงสายตา มีวิตามินซีช่วยต้านอนุมูลอิสระเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนซ์ ผลชมพุ่ ถ้ากินสดไม่หมดตากแห้งเอาไว้บดเป็นผงกินเป็นยาบำรุงกำลังก็ได้ เนื้อสีขาวที่เป็นใยด้านในของผล อุดมด้วยวิตามิน A สูงมากเมื่อเทียบกับผลไม้ทั่วไป ส่วนเมล็ดเป็นของดีที่ไม่ควรพลาดแก้เบาหวานได้ แก้ท้องเสีย แก้อาการอักเสบ และช่วยขับปัสสาวะได้อย่างดี ถ้ากินเยอะก็จะปัสสาวะบ่อย อาจทำให้อ่อนเพลียเพราะขาดเกลือแร่ได้ดังนั้นกินแต่พอดีจะมีประโยชน์กว่า

สรรพคุณทางสมุนไพรของชมพู่
          - ผลของชมพู่ มีสรรพคุณใช้เป็นยาชูกำลัง บำรุงหัวใจ และ ทำให้ชุ่มชื่น แก้ลมปลายไข้
          - เนื้อในที่เป็นใยของชมพู่ มีสรรพคุณใช้เป็นยาลดไข้ แก้ตาเจ็บ บำรุงสายตา
          - เมล็ดชมพู่ ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย และแก้เบาหวาน
          - เปลือก, ต้น - แก้เบาหวานและแก้ท้องเสีย

ประโยชน์ต่อสุขภาพ
          รสและสรรพคุณยาไทย เอาเนื้อมาทำเป็นยาบำรุงกำลัง ทำให้เกิดความสดชื่นหอม โดยการเอาเนื้อชมพู่แห้งมาบดหรือรับประทานสดก็ได้ จะเกิดความสดชื่นขึ้นมาทันที สามารถนำมาบำรุงหัวใจได้มาก เพราะชมพู่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ

น้ําผลไม้ที่แนะนำ
- น้ำชมพู่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น