วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ตะไคร้

          ตะไคร้ หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Lemongrass และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cymbopogon citratus (DC.) Staph ชื่อตะไคร้ตามภูมิภาค ภาคเหนือ เรียก จะไคร, ภาคใต้ เรียก ไคร, แม่ฮ่องสอน เรียก คาหอม, เขมร-สุรินทร์ เรียกเชิดเกรย หรือ เหลอะเกรย, กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก ห่อวอตะโป่, อินดี้-สกา เรียก ขี้ไคร้ ตะไคร้เป็นพืชล้มลุก ความสูงโดยประมาณ 4-6 ฟุต ใบเรียวยาว ปลายใบมีขนหนาม ลำต้นรวมกันเป็นกอ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อยาว ดอกเล็กเป็นฝอยมีจำนวนมาก ตะไคร้เป็นพืชที่สามารถนำส่วนต้นหัวไปประกอบอาหาร และจัดเป็นพืชสมุนไพรด้วย
          ตะไคร้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ศรีลังกา พม่า อินเดีย ไทย และในทวีปอเมริกาใต้
          โดยทั่วไปแบ่งตะไคร้ออกได้เป็น 6 ชนิด ได้แก่
          1.ตะไคร้กอ
          2.ตะไคร้ต้น
          3.ตะไคร้หางนาค
          4.ตะไคร้น้ำ
          5.ตะไคร้หางสิงห์
          6.ตะไคร้หอม
          ตะไคร้เป็นพืชในตระกูลหญ้า และเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ง่าย อาจมีทรงพุ่มสูงได้ถึง 1 เมตร
มีลำต้นที่แท้จริงอยู่ประมาณ 4-7 เซนติเมตร ลำของต้นจะถูกห่อหุ้มด้วยกาบใบโดยรอบ ใบยาวแคบเส้นใบขนานกับก้านใบ ใบของตะไคร้อุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย ซึ่งนิยมนำมาปลูกกันโดยทั่วไป
          ตะไคร้สามาระปลูกได้ด้วยการปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ แล้วนำมาปักชำไว้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ ก็จะเกิดรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย โดยให้ห่างกันประมาณหนึ่งศอก ถ้าหากปลูกในกระถางให้ใช้วิธีปักโคนลงในกระถาง กระถางละ 2-3 ต้น แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มทุกเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้ดี ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย และเป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำได้เสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ดีในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ตัดที่บริเวณโคนสุดตรงส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้น ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง หรืนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากลมไว้ให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นการแตกหน่อทำให้การปลูกและการขยายพันธ์ได้ง่าย
          ส่วนเหง้าและลำต้นแก่ ของตะไคร้ เป็นส่วนประกอบของอาหารที่สำคัญหลายชนิด อาธิเช่น ต้มยำ และอาหารไทยหลายชนิด เพื่อให้ได้กลิ่นหอม มีสรรพคุณทางยาเช่น บำรุงธาตุ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคหืด แก้อหิวาตกโรค บำรุงสมอง ช่วยให้สมาธิดี ต้มกับน้ำใช้ดื่มแก้อาเจียน ใช้ต้นสดโขลกคั้นเอาน้ำดื่มแก้อาการเมาในกรณีผู้ที่เมามากๆ ช่วยให้สร่างเร็ว ส่วนหัวสามารถใช้แก้โรคเกลื้อน ท้องอืดท้องเฟ้อ โรคนิ่ว ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถทำเป็นยาช่วยให้นอนหลับ ช่วยลดความดันสูง น้ำมันตะไคร้หอมใช้ทากันยุงได้ ถ้าปลูกใกล้ผักอื่นๆจะช่วยกันแมลงได้และยังให้กลิ่นหอม ที่ดับกลิ่นบางชนิดใด้ ตะไคร้ยังเป็นส่วนผสมเพราะมีกลิ่นที่หอม ช่วยกำจัดยุงบางชนิดได้ ช่วยไล่ยุงได้ นอกจากนี้ตะไคร้ยังแก้กลิ่นคาวหรือดับกลิ่นคาวของปลา และเนื้อสัตว์ได้ดีอีกด้วย
          สรรพคุณ
          1.ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
          2.หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
          3.ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
          4.ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย

น้ําผักที่แนะนำ
- น้ำตะไคร้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น